รู้หรือไม่?! ประกันสังคม สิทธิทำฟันฟรี 900 บาท/ปี เบิกค่ารักษาอะไรได้บ้าง?!
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZxSn.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZxSn.jpg)
สิทธิทำฟัน ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่ทุกคนควรรู้ ทำอะไรได้บ้าง เบิกได้เท่าไหร่ต่อปี ต้องสำรองจ่ายก่อนหรือไม่ มาหาคำตอบกันได้จากบทความนี้กันได้เลยนะคะ
สำหรับใครที่จ่ายเงินสมทบร่วมเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นประจำทุก ๆเดือนอยู่ละก็ เคยทราบไหมว่า ประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์สำหรับทันตกรรม ประกันสังคมไว้สำหรับดูแลผู้ประกันตนอย่างเราด้วยนะ แม้ว่าบางคนอาจจะมองข้ามไป เพราะคิดว่าเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย จึงไม่ได้ใส่ใจกับสิทธิประโยชน์ที่เรามี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ลืมว่าจำนวนเงินที่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิทางทันตกรรม โดนหักไปทุกๆเดือนนั้น ส่วนหนึ่งคือสวัสดิการด้านทันตกรรม เพื่อช่วยให้เราเข้าถึงบริการสุขภาพที่สะดวกและมีคุณภาพมากขึ้น เพราะต้องไม่ลืมว่าแม้ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน อาจจะมองเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว ก็สามารถเป็นปัญหาที่กวนใจได้ไม่น้อยเลย ในกรณีที่เราไปใช้สิทธิ์ประกันสังคม ทันตกรรมทุกปี เมื่อเจอปัญหาสุขภาพฟันขึ้นมาก็จะได้รีบดำเนินการรักษาแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องรอจนเป็นหนักแล้ว ค่อยมาทำการรักษา ซึ่งนอกจากจะเจ็บตัวแล้วยังไม่พอ ยังต้องเสียเงินค่ารักษาจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า สิทธิประโยชน์ด้านการทำฟันของประกันสังคมนั้น มีอะไรบ้าง แล้วเบิกได้เท่าไหร่ เมื่อรู้แล้วจะได้รีบไปใช้สิทธิ์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองกันค่า
ประกันสังคม สิทธิทันตกรรม ใครมีสิทธิบ้าง?!
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZUuW.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZUuW.jpg)
รู้มั๊ยว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมจะได้รับสิทธิทำฟัน ประกันสังคมเลย แต่ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม สิทธิทำฟันนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ซึ่งไม่รวมผู้ประกันตนในมาตรา 40 และที่สำคัญคือ จะต้องมีการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบแล้ว 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยจะเป็นช่วงเดือนไหนก็ได้ ส่วนกรณีที่เราส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนแล้ว และได้ลาออกจากที่ทำงาน ยังสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ เพราะทำฟัน ประกันสังคมจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกค่ะ
ทำฟัน ประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง?
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZQig.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZQig.jpg)
ณ ตอนนี้สำนักงานประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาประกันสังคม สิทธิทำฟันได้ทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี โดยไม่ได้มีการจำกัดจำนวนครั้งที่ทำการรักษาแต่อย่างไร แต่หากว่าค่ารักษาทางทันตกรรมสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนเงินส่วนเกินตรงนั้นเองค่ะ
ประกันสังคม ทำฟัน เบิกค่าทำฟันปลอมได้หรือไม่?
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZqI2.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZqI2.jpg)
นอกจากประกันสังคมจะให้สิทธิประกันสังคม ทันตกรรม (https://smiledc-th.com/social-security-dental-rights/)เพื่อทำการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว หากผู้ประกันตนจำเป็นต้องทำการใส่ฟันปลอม จะมีสิทธิสามารถได้รับค่าทำฟันปลอมได้ ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอมนั้น โดยสามารถแยกเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้ นะคะ
1. ทำฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
1.1 จำนวน 1-5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
1.2 มากกว่า 5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
2. การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
2.1 ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม (ฟันปลอม)
2.2 ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง สามารถเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม (ฟันปลอม)
ประกันสังคม ทำฟัน ทำฟันได้ฟรี 900 บาท/ปี ไม่ต้องสำรองจ่าย!!
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZbJD.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZbJD.jpg)
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ตอนนี้ถ้าเราจะไปใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็น อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด หรือขูดหินปูน โดยไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินเหมือนแต่ก่อนแล้ว ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นมา ถือเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตน โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาในการทำฟันและนำเอกสารกลับไปเบิกกับสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ในภายหลัง โดยหากเป็นการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ส่วนสถานพยาบาลและคลินิกเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งตอนนี้ได้เข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 1,000 แห่ง ที่รับประกันสังคม สิทธิทันตกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าสถานพยาบาลแห่งไหนที่สามารถใช้สิทธิ ทำฟัน ประกันสังคมโดยไม่ต้องสำรองจ่าย ได้จากป้ายสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า "สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย" และอย่าลืมพกบัตรประชาชนมาด้วยสำหรับการยืนยันใช้สิทธิประกันสังคม ทันตกรรมด้วยนะคะ
แต่ถ้าเป็นกรณีฟันปลอม ไม่ว่าจะเป็นแบบถอดได้บางส่วน หรือถอดได้ทั้งปาก ยังคงต้องสำรองจ่ายไปก่อนเหมือนเดิม แล้วจึงนำหลักฐานไปยื่นเบิกเงินกับสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ให้บริการทีหลังค่ะ
เบิกค่ารักษาทำฟันประกันสังคม สิทธิทันตกรรม ยังงัยได้บ้าง?
สำหรับการเข้ารับบริการทำฟันกับสถานพยาบาลที่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือเป็นการทำฟันปลอม ผู้ประกันตนสามารถที่จะยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่ สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่ให้บริการในกรุงเทพ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ภายในวัน-เวลาราชการ หรือสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมในวัน-เวลาราชการ จะเลือกยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยต้องส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า "ฝ่ายสิทธิประโยชน์" นะคะ
สิทธิทำฟัน ประกันสังคม เบิกได้กี่ครั้งต่อ 1 ปี
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZOoy.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZOoy.jpg)
ประกันสังคม ไม่ได้จำกัดสิทธิประกันสังคม ทำฟัน ว่าสามารถเบิกได้กี่ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายการทำฟันในปีนั้น ๆ ยังไม่ถึง 900 บาท เราก็ยังสามารถใช้สิทธิยื่นเบิกได้เรื่อยๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท โดยวงเงินที่ให้จะเป็นแบบปีต่อปี หากหมดปีนั้นแล้วมีวงเงินเหลือจะโดนหักทิ้งทันที นำไปทบยอดในปีถัด ๆ ไปไม่ได้ค่ะ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม สิทธิทันตกรรม ไม่ต้องสำรองจ่าย ใช้เอกสารอะไรบ้าง สิทธิประโยชน์ ทำฟัน ประกันสังคม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ โทร. 1506
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม
(https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZEw1.jpg) (https://sv1.picz.in.th/images/2022/07/04/VuZEw1.jpg)
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ
ขออนุญาตอัพเดทค่ะ