• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

🌏การสำรวจชั้นดิน 🎯และ🎯 การเจาะสำรวจดินในงานก่อสร้าง🌏

Started by dsmol19, July 31, 2024, 03:57:10 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19

การสำรวจดิน 👉คือกรรมวิธีการเจาะดิน, เก็บตัวอย่างดิน, ทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม, หยั่งชั้นดินจากผิวดิน ✨หรือใช้เทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะชั้นดินทั้งทางแนวดิ่ง และลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางแนวราบ เพียงพอในการที่จะใช้ออกแบบ 🛒หรือศึกษาทางด้านปฐพีกลศาสตร์ การเจาะสำรวจดินต้องพิจารณาการใช้งาน เช่น การสร้างถนนหรือสนามบิน การสำรวจจะกระทำเพียงตื้น ๆ แต่งานฐานรากลึกต้องสำรวจลงไปลึกกว่าปลายเข็มที่คาดว่าจะใช้งาน ✨สำหรับในบทนี้จะพูดถึงการเจาะสำรวจดินโดยวิธีเบื้องต้น โดยใช้ สว่านมือ, การเจาะล้าง (Wash Boring) 🌏และการเก็บตัวอย่างดินโดยใช้กระบอกเปลือกบาง (Thin Walled Tube)🛒

👉👉👉เหตุผลในการเจาะสำรวจดินก่อนก่อสร้าง⚡⚡⚡

1. การทราบประเภทและชนิดของดินใต้พื้นที่ 📢และรู้ลักษณะเชิงกลของดิน เราจะได้เลือกใช้ฐานรากได้ถูกประเภท 👉เช่น หากดินแข็งพอสมควรอาจใช้ฐานแผ่🦖

2. เพื่อให้ทราบความลึกของชั้นดินดาน (ดินแข็ง) ว่าลึกเท่าไร 🎯เพื่อนำไปคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม🌏 เลือกขนาดและความยาวเสาเข็มที่ต้องใช้ได้📌

3. การลดความเสี่ยงในการตอกเสาเข็ม ✨เพราะหากพบชั้นดินแข็งแต่ไม่หนาและลึกไม่มาก 👉อาจทำให้คนตอกเสาเข็มหยุดตอก เพราะคิดว่าถึงชั้นดินแข็งแล้ว 📢ทั้งที่จริง ๆ สามารถตอกทะลุลงไปได้อีก 🌏หากพื้นที่สำรวจมีความผันผวนของดินสูง วิศวกรควรสั่งเจาะสำรวจดินหลายหลุม เพื่อเปรียบเทียบ 👉เพราะอาจต้องออกแบบฐานรากหลายแบบ สำหรับก่อสร้างอาคารนั้น🎯



🌏🌏🌏การสำรวจดิน (Soil Exploration)📢📢📢

การเจาะสำรวจชั้นดิน🥇คือการการขุดหลุมในดินเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของชั้นดิน📢และเก็บตัวอย่างดินมาทำการทดสอบคุณสมบัติในห้องปฏิบัติการ🦖โดยทั่วไปวิธีการสำรวจดินที่นิยมในประเทศไทย 📌ได้แก่

1. การใช้สว่านมือ (Hand Auger) 📢เป็นการเจาะด้วยแรงคน โดยใช้สว่านมือและก้านเจาะดังรูปด้านล่าง ✨โดยที่ก้านเจาะซึ่งยาวประมาณ 1 เมตร สามารถต่อให้ยาวหลาย ๆ ท่อนได้ เมื่อกดพร้อม ๆ กับหมุนก้านจนดินเข้ามาเต็มสว่านแล้วจึงดึงขึ้นเพื่อนำดินออก 👉ดินส่วนนี้สามารถนำไปทดสอบคุณสมบัติบางประเภททางวิศวกรรม 📢การเจาะด้วยสว่านมืออาจทำได้ลึกถึง 6–10 เมตร ในดินเหนียวแข็งปานกลาง ⚡ข้อเสียของการเจาะประเภทนี้คือไม่สามารถเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำมาหาคุณสมบัติด้านความแข็งแรงหรือการทรุดตัวของดินได้เนื่องจากโครงสร้างดินถูกทำลายโดยสว่าน👉

2. การฉีดล้างดิน 🌏คือการใช้การฉีดน้ำด้วยแรงดันสูงเพื่อให้เกิดหลุม และเกิดการรบกวนดินด้านล่างน้อยที่สุด 📢วิธีการเจาะเริ่มโดยการสูบน้ำผ่านก้านเจาะไปยังหัวฉีดที่ก้นหลุมพร้อมกับการกระแทกหรือหมุนของหัวเจาะ 📢ทำให้ดินที่ก้นหลุมถูกฉีดและไหลตามน้ำขึ้นมาบนผิวดินลงในอ่างตกตะกอน จากนั้นสูบน้ำที่ใสนำกลับมาใช้ใหม่ ✨ดังรูปด้านล่าง วิธีนี้ต้องอาศัยสามขา (Tripod) เครื่องกว้าน (Motor และ Catch head) 🦖และปั๊มน้ำ ในกรณีที่เจาะดินอ่อน จะต้องใช้ปลอกกันดินด้วย โดยต่อเป็นท่อน ๆ 👉และเมื่อเจาะถึงชั้นทรายจะไหลเข้ามาในหลุมจึงจำเป็นต้องผสมสารเบนโทไนต์ (Bentonite) ลงไปกับน้ำ 🦖เนื่องจากเบนโทไนต์คือแร่ชนิด มอนต์มอริลโลไนต์ มีความสามารถในการดูดน้ำดีและพองตัวได้มาก ✨ทำให้ความหนาแน่นของน้ำภายในหลุมมากกว่าน้ำในชั้นทราย🥇 น้ำจึงไม่ไหลเข้าในหลุม การเจาะประเภทนี้สามารถหยุดเพื่อเก็บตัวอย่างดินได้เป็นระยะ ๆ ตามกำหนด 🛒การเจาะสำรวจในกรุงเทพฯ เพื่อก่อสร้างอาคารจะเจาะสำรวจตั้งแต่ 30-80 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอาคาร🦖